ความเป็นมา
ปีการศึกษา 2529 – 2538 คณะครุศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “รูปแบบการสอนสำหรับเด็กด้อยความสามารถทางการเรียนรู้” โดยศึกษานักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนทุกคนในโครงการฯมีความก้าวหน้าอย่างมากในด้านการเรียนรู้ การปรับตัวทางอารมณ์ สังคมและบุคลิก-ภาพ ซึ่งรูปแบบการสอนจากการศึกษานี้ ได้เป็นแนวทางของการจัดการศึกษาแก่เด็กที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือพิเศษ ในโรงเรียนเป็นรายบุคคลในเวลาต่อมา
หลักการและเหตุผล
โครงการการศึกษาพิเศษเพื่อพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้ จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ อาทิ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า มีปัญหาการเรียนรู้ บกพร่องทางสติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะด้าน สมาธิสั้น หรือ ออทิสติก เป็นต้น โดยให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนาให้สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ในสังคม ด้วยรูปแบบวิธีการและอัตราการเรียนรู้ที่เหมาะสม กับนักเรียนตามความสามารถ บุคลิกภาพ และความสนใจเป็นรายบุคคลควบคู่กับการส่งเสริม ความสามารถตามความถนัดและความสนใจ ให้ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและสังคมอย่างเต็ม ศักยภาพ จัดให้ได้เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ เน้นความร่วมมือระหว่าง บ้าน โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคมได้อย่างมีความสุข และเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
- เพื่อการส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
- เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการของนิสิต-คณาจารย์คณะครุศาสตร์
- เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ แก่ผู้สนใจทั่วไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เรียน ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
- ได้องค์ความรู้ใหม่ด้านการศึกษาพิเศษ
- นิสิต คณาจารย์และผู้สนใจ ได้มีโอกาสฝึกประสบการณ์ ด้านการศึกษาพิเศษ
- สังคมภายนอกได้รับความรู้และการบริการด้านวิธีจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
- หลักสูตร จัดหลักสูตรการเรียนรู้ ตามแผนการศึกษา เฉพาะบุคคล (Individual Education Plan หรือIEP) แบ่งสาระการเรียนรู้ เป็นระดับต่อเนื่อง ตามความพร้อมและความสามารถของผู้เรียน โดยการวางแผนร่วมกับผู้ปกครอง
- การจัดการเรียนการสอน ใช้วิธีจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ ทั้งเรียนในระบบ เรียนนอกระบบ และ เรียนตามอัธยาศัย จัดการ เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ เรียนในชั้นเรียนพิเศษแบบกลุ่มย่อย และรายบุคคล รวมทั้งร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน และชุมชน ภายนอก เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนรายบุคคลและการเรียนเฉพาะกลุ่มในโครงการการศึกษาพิเศษฯ
- การประเมินผล แบ่งการประเมินเป็น 2 ระบบ คือ
1. ประเมินตามเกณฑ์ปกติของโรงเรียน
2. ประเมิน ตามพัฒนาการของผู้เรียน โดยให้ความสำคัญกับ จุดประสงค์การเรียนรู้ ตามแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล - การจัดการส่งต่อก่อนจบการศึกษา เพื่อฝึกฝนทักษะและเตรียมความพร้อมผู้เรียน ให้สามารถพัฒนาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น คือ ระดับอุดมศึกษา วิชาชีพ หรือ พัฒนาทักษะการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ระยะเวลาการศึกษา
ฃศึกษาตั้งแต่อายุ 5 ปี ครึ่ง ถึง 18 ปี จบการศึกษาตามหลักสูตรปกติหรือหลักสูตรตามแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล กรณีศึกษาตามหลักสูตรปกติ ให้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
การรับผู้เรียน
แบ่งผู้เรียนเป็น 2 ประเภท ตามวิธีการรับเข้าศึกษา ดังนี้
- ประเภทรับตรง ผู้เรียนเป็นบุคคลทั่วไป อายุระหว่าง 5 ปี ครึ่ง – 8 ปีครึ่ง (นับถึง เดือนพฤษภาคมของปีที่เข้าศึกษา) และมีความบกพร่อง ตามเกณฑ์ ที่กำหนดของคณะกรรมการบริหารโครงการฯ โดยสมัครและรับการ คัดเลือกเข้าศึกษาตามประกาศคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เรื่องการรับ สมัครเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประเภทสมทบ ผู้เรียนเป็นบุตรของบุคลากรจุฬาฯ ที่เป็นนักเรียนสาธิตจุฬาฯ หรือ นักเรียนปัจจุบันของโรงเรียน และมีความจำเป็น ต้องได้รับความช่วยเหลือพิเศษ เข้าเรียนในโครงการการศึกษาพิเศษฯ ตามระเบียบ ของโรงเรียน
การจัดการเรียนร่วม
การจัดการเรียนร่วม.. เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ช่วย สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษช่วยให้เด็กพิเศษ มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน เพื่อให้สามารถปรับตัว กับเด็กทั่วไปให้ได้มากที่สุด อันเป็นการส่งเสริมให้มีพัฒนาการด้าน ร่างกาย การเรียนรู้ บุคลิกภาพ การปรับตัวด้านอารมณ์และสังคมได้ อย่างเต็มศักยภาพ
ทั้งนี้ การจัดการเรียนร่วมจะมีส่วนช่วยให้บุคคลทั่วไป เกิดความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้เกิดการช่วยเหลือ และส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันสอดคล้องกับสภาพความ แตกต่างของเด็กที่เกิดขึ้นจริงในโรงเรียนที่มีเด็กหลายลักษณะการเรียน รวมกัน สามารถพัฒนาการเรียนรู้ และการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน ทั้งในโรงเรียนและในสังคมต่อไป
History
During the academic year of 1986 – 1995, the Faculty of Education and CU Demonstration School started a research program on Instructional Management Model for children with special needs by gradually studying the students in order to develop a suitable
learning environment for students that need extra attention in the classroom.
Studies found that students have improved their learning ability, emotional stability, social skills, and even their personality. The structure of this educational system has been used as guidance in setting up a curriculum for children that require extra care in school and has been adapted to fit each child’s individual needs.
In 1994 a permanent special education program was set up at CU Demonstration School to help students with special needs and to provide services and support to teachers and parents.
Rationale and basis
The Special Education for Learning Ability Development Program (SELAD) provides education for students with special needs, such as; learning disabilities, intellectual disabilities, autism, developmental delays, physical disabilities and any others types relate to communication, learning, emotional or behavioral disorders,.
The program provides individual support and encouragement to aid development and increase the ability to learn and adapt to social environments. This program offers maximum extent appropriate in light of their needs to join in regular classrooms with the help of the school system that can be provided by teachers, peers, student’s family and other relate groups.
This opportunity allow students to improve skills that are necessary for daily life and adapt their social skills in order to live among other people and fulfill their potential.
Goal
- To develop and organize a curriculum for students with special needs.
- To support, encourage, and improve learning abilities and social adjustment for students with special needs.
- To be a lab for students majoring in education and other educational researchers.
- To provide academic services in education for students with special needs.
Benefits of the Program
- Special needs students receive appropriate education and expand their learning abilities
- Creating new knowledge of special education and inclusion
- Facilitate university students, teacher training program, academics, and other interested people may gain experience by observing the program in teaching and learning
- Provide information about special more education to society.
Curriculum
- Curriculum set based on the Individual Education Plan (IEP) dividing the core contents into groups depending on the student’s skill and ability by planning with the parents.
- Teaching Arrangements consists of many different types of methodology and techniques. Learning can occur within or outside of the classroom and also depends on the student’s readiness and learning level. Students may join regular classrooms or placed in special education classrooms or placed into small groups to receive individual attention. Students may participate in the school and outside social activities.
- Assessment and Evaluation determining the results comprise of 2 systems; the first, assessment based on the school’s normal criteria, and the second, based on student’s development and personal goals, assessment of individual students requires the use of multiple data sources.
- Making a transition to arrange the student’s future before leaving school
– in order to practice skills that are required in maintaining their learning and living in daily life.
– prepare students to be able to go to university or develop skills to acquire a profession.
– transition planning should be worked as a partner, involving individuals with special needs, school personal, their family and community support.
Length of the Program
- students starting the program from the age of 5 1/2 years – 18 years old or until students have accomplished an individual education program (IEP)
- students who receive regular education classrooms may remain in the program until finishing basic education or high school level.
Organizing an inclusive classroom
การจัดการเรียนร่วม.. เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ช่วย สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษช่วยให้เด็กพิเศษ มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน เพื่อให้สามารถปรับตัว กับเด็กทั่วไปให้ได้มากที่สุด อันเป็นการส่งเสริมให้มีพัฒนาการด้าน ร่างกาย การเรียนรู้ บุคลิกภาพ การปรับตัวด้านอารมณ์และสังคมได้ อย่างเต็มศักยภาพ
ทั้งนี้ การจัดการเรียนร่วมจะมีส่วนช่วยให้บุคคลทั่วไป เกิดความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้เกิดการช่วยเหลือ และส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันสอดคล้องกับสภาพความ แตกต่างของเด็กที่เกิดขึ้นจริงในโรงเรียนที่มีเด็กหลายลักษณะการเรียน รวมกัน สามารถพัฒนาการเรียนรู้ และการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน ทั้งในโรงเรียนและในสังคมต่อไป